พัฒนาอย่างยั่งยืนด้วย ISO 26000 ตอนที่ 1
วันที่ 26 เมษายน 2559 | โดย Webmaster Ecocenter
ในเดือนมกราคม 2559 วาระการพัฒนาอย่างยั่งยืนสำหรับปี 2573 (ค.ศ.2030) ได้มีผลแล้ว ขณะนี้ โลกกำลังจับตาการ แก้ไขปัญหาในการนำไปสู่ความร่วมมือและการพัฒนาระหว่างประเทศสำหรับเป้าหมายที่มี 17 โครงการภายใน 15 ปี ข้างหน้า แล้ว ISO 26000 จะช่วยสร้างความแตกต่างในเรื่องนี้ได้หรือไม่
จากการประชุมสุดยอดการพัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติเมื่อวันที่ 25 กันยายน 2558 ผู้นำโลกได้รับเอา วาระ 2030 สำหรับการพัฒนาอย่างยั่งยืนซึ่งรวมเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) 17 ประการเพื่อยุติความยากจน ต่อสู้กับความไม่เท่าเทียมกันและความไม่เป็นธรรม และต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศให้ได้ภายในปี 2573
เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนดังกล่าวเป็นกลุ่มเป้าหมายสากลใหม่และตัวชี้วัดที่รัฐที่เป็นสมาชิกขององค์การ สหประชาชาติจะได้รับการคาดหวังว่าจะใช้เป็นกรอบของวาระและนโยบายทางการเมืองไปในอีก 15 ปีข้างหน้า พวกเขาได้ติดตามและขยายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากรัฐบาลเมื่อปี 2544 (ค.ศ.2001) และสิ้นสุดลงในปี 2558
แล้วมาตรฐาน ISO 26000 ด้านความรับผิดชอบทางสังคมเหมาะสมกับภาพใด?
ศาสตราจารย์เอเดรียน่า รอเซนฟีลด์และเอเดรียน่า นอร์มา มาทิเนซจากมหาวิทยาลัยแห่งชาติลูฮันในอาร์เจนติน่ากล่าวว่า ISO 26000 เน้นการพัฒนาอย่างยั่งยืนและวาระหลังจากการพัฒนาในปี 2558 (ค.ศ.2015) จะมีความต่อเนื่องกันและทำในวิถีทางที่สมบูรณ์แบบ หัวข้อและประเด็นหลักที่ระบุโดยมาตรฐานของไอเอสโอรวมถึงด้านสิทธิมนุษยชน การปฏิบัติด้านแรงงาน สภาพแวดล้อม การดำเนินงานอย่างเป็นธรรม ประเด็นด้านผู้บริโภค และการมีส่วนร่วมของชุมชน ซึ่งรวมอยู่ในสิ่งอื่นๆ ด้วย หลักการของโอกาสที่เท่ากันและไม่สร้างความแตกต่าง
ISO 26000 เตรียมการให้มีวิธีการที่มองเห็นได้ สามารถสร้างผลกระทบหรือมีอิทธิพล ปฏิบัติได้จริง เพื่อกระตุ้นการเปลี่ยนแปลง และตอบสนองต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งโรเซนฟีลด์และมาร์ติเนซได้กล่าวถึงเหตุผลไว้ดังนี้
แม้ว่าแนวคิดของการพัฒนาอย่างยั่งยืนและความรับผิดชอบทางสังคมมักจะมีการใช้ทดแทนกัน แต่การพัฒนาอย่างยั่งยืนเป็นการอ้างอิงถึงเป้าหมายทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ให้กับผู้คนทั้งหมด ในขณะที่ความรับผิดชอบทางสังคมอ้างอิงความรับผิดชอบขององค์กรต่อสังคมสิ่งแวดล้อม ดังนั้น เมื่อองค์กรตัดสินใจที่จะลงมือทำและนำเอาความรับผิดชอบทางสังคมไปใช้ เป้าหมายที่ครอบคลุมถึงก็คือการมีส่วนร่วมในการพัฒนาอย่างยั่งยืนนั่นเอง
ISO 26000 ให้แนวทางของวิธีที่ธุรกิจและองค์กรสามารถปฏิบัติได้ในวิธีการที่รับผิดชอบเชิงสังคม มาตรฐานนี้ให้ความกระจ่างว่าความรับผิดชอบทางสังคมคืออะไรซึ่งช่วยให้ธุรกิจและองค์กรแปลงหลักการไปสู่การปฏิบัติที่มีประสิทธิผลและแบ่งปันวิธีปฏิบัติที่ดีที่สุด (best practices) จากทั่วโลกเกี่ยวกับความรับผิดชอบทางสังคม
มาตรฐานไอเอสโอได้รับการออกแบบมาเพื่อช่วยให้องค์กรมีส่วนร่วมในการพัฒนาอย่างยั่งยืน กระตุ้นให้องค์กรก้าวไปให้ไกลมากกว่าความสอดคล้องทางกฎหมายพื้นฐาน และเพื่อส่งเสริมให้มีความเข้าใจร่วมกันในด้านความรับผิดชอบทางสังคม มีส่วนเสริมให้เครื่องมือและโครงการที่มีอยู่มีความสมบูรณ์มากขึ้น
แล้ว ISO 26000 จะตอบสนองต่อเป้าหมายของการพัฒนาอย่างยั่งยืนได้อย่างไร ผู้เชี่ยวชาญของไอเอสโอมีคำตอบให้ในบทความเรื่อง พัฒนาอย่างยั่งยืนด้วย ISO 26000 ตอนที่ 2
ที่มา:
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น