ห้องสันทนาการ (Media Room) ห้องสันทนาการ หรือห้องมัลติมีเดียคือชื่อเรียกอย่างเป็นทางการของห้องนั่งเล่นดูหนังฟังเพลงแบบส่วนตัว







ห้องสันทนาการ: ไอเดีย แรงบันดาลใจและรูปภาพการออกแบบตกแต่งภายใน



  1. บ้านเดี่ยวสองชั้น ออกแบบและเลือกวัสดุตามใจลูกค้า:  ห้องสันทนาการ by บริษัท ซายแอค คอนทรัคชั่น จำกัด
  2. ห้องดูทีวี:  ห้องสันทนาการ by sixty interior design & renovation
  3. ออกแบบ ตกแต่ง ภายใน อาคารวิจัยการประมงน้ำจืดเก่า     มหาวิยาลัยเกษตรศาสตร์       ศูนปฎิบัติการเฝ้าระวังการทำการประมง:  ห้องสันทนาการ by mayartstyle

  4. ต้องการความช่วยเหลือในการสร้างบ้านของคุณ?
  5. Open Space:  ห้องสันทนาการ by Charrette Studio Co., Ltd.
  6. บ้านเดี่ยวสองชั้น ออกแบบและเลือกวัสดุตามใจลูกค้า:  ห้องสันทนาการ by บริษัท ซายแอค คอนทรัคชั่น จำกัด
  7. ห้องดูทีวี:  ห้องสันทนาการ by sixty interior design & renovation
  8. ห้องดูทีวี:  ห้องสันทนาการ by sixty interior design & renovation
  9. ห้องดูทีวี:  ห้องสันทนาการ by sixty interior design & renovation

  10. ต้องการความช่วยเหลือในการสร้างบ้านของคุณ?
  11. workshop KYRA:  ห้องสันทนาการ by บริษัท  ทีซี อินเทอโน่ 456 จำกัด
  12. workshop KYRA:  ห้องสันทนาการ by บริษัท  ทีซี อินเทอโน่ 456 จำกัด
  13. workshop KYRA:  ห้องสันทนาการ by บริษัท  ทีซี อินเทอโน่ 456 จำกัด
  14. Taling-Chan Residence:  ห้องสันทนาการ by Aim Ztudio
  15. ออกแบบ ตกแต่ง ภายใน อาคารวิจัยการประมงน้ำจืดเก่า     มหาวิยาลัยเกษตรศาสตร์       ศูนปฎิบัติการเฝ้าระวังการทำการประมง:  ห้องสันทนาการ by mayartstyle
  16.  ห้องสันทนาการ by Rennovate Home Solutions pvt ltd
    Ad
  17.  ห้องสันทนาการ by MONOstudio
  18. ห้องดูทีวี:  ห้องสันทนาการ by sixty interior design & renovation
  19.  ห้องสันทนาการ by Only Design de Interiores
  20.  ห้องสันทนาการ by Patrícia Azoni Arquitetura + Arte & Design
  21.  ห้องสันทนาการ by Alma em Design
  22.  ห้องสันทนาการ by Layers LAB_에스플러스 디자인
    Ad
  23.  ห้องสันทนาการ by Pedro Guimaraes Lda
  24.  ห้องสันทนาการ by Espaço do Traço arquitetura
  25.  ห้องสันทนาการ by 田村建築設計工房
  26.  ห้องสันทนาการ by 一級建築士事務所 株式会社KADeL
  27.  ห้องสันทนาการ by 株式会社田渕建築設計事務所
  28.  ห้องสันทนาการ by 中村建築研究室 エヌラボ(n-lab)
  29.  ห้องสันทนาการ by 中村建築研究室 エヌラボ(n-lab)
  30.  ห้องสันทนาการ by Samara Barbosa Arquitetura
  31.  ห้องสันทนาการ by RAFAEL SARDINHA ARQUITETURA E INTERIORES
  32.  ห้องสันทนาการ by Helô Marques Associados
  33.  ห้องสันทนาการ by 夏川空間設計工作室
  34.  ห้องสันทนาการ by Tatielly Zammar Arquitetura
  35.  ห้องสันทนาการ by 根來宏典建築研究所
  36.  ห้องสันทนาการ by Дизайн студия Алёны Чекалиной

ห้องสันทนาการ (Media Room)

ห้องสันทนาการ หรือห้องมัลติมีเดียคือชื่อเรียกอย่างเป็นทางการของห้องนั่งเล่นดูหนังฟังเพลงแบบส่วนตัวหรือห้องโฮมเธียเตอร์ที่คุณๆผู้อ่านหลายๆท่านรู้จักกันเป็นอย่างดี ห้องสันทนาการเป็นพื้นที่ห้องหนึ่งของบ้านและที่อยู่อาศัยที่มีการออกแบบที่แตกต่างไปจากพื้นที่ห้องอื่นๆ นั่นคือเป็นห้องที่มีจุดประสงค์เพื่อการใช้สอยด้านความบันเทิงด้านต่างๆโดยเฉพาะ แตกต่างไปจากห้องนั่งเล่นที่เอาไว้ต้อนรับแขกหรือทำกิจกรรมอเนกประสงค์อย่างอื่นหรือห้องดูทีวีปกติทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นการดูภาพยนตร์ การฟังเพลงอย่างมีอรรถรส หรือเป็นห้องสำหรับกิจกรรมการพักผ่อนเล่นเกม ในต่างประเทศนับว่าเป็นพื้นที่หนึ่งซึ่งคนในครอบครัวจะได้ใช้เวลาและมีกิจกรรมร่วมกัน หรืออาจเป็นพื้นที่ไว้สำหรับต้อนรับเพื่อนฝูงที่สนิทสนมเพื่อการพักผ่อนฟังและชมสิ่งบันเทิงร่วมกันอย่างมีอรรถรสมากขึ้น

ห้องสันทนาการหรือห้องมีเดียรูมที่ดีนั้นต้องเป็นอย่างไร?

เจ้าบ้านหลายๆท่านอาจสับสนว่าห้องสันทนาการและห้องนั่งเล่นนั้นมีความแตกต่างกันอย่างไร ในส่วนของการใช้สอยนั้นอาจมีส่วนที่คล้ายคลึงกันก็จริง แต่ในเชิงการออกแบบบรรยากาศและองค์ประกอบภายในของห้องสันทนาการนั้นนับว่ามีความพิเศษและมีความเป็นส่วนตัวกว่าห้องนั่งเล่นของบ้านมาก ซึ่งภายในของห้องสันทนาการนอกจากจะมีสิ่งอำนวยความสะดวกในการนั่งชมภาพยนตร์หรือนั่งฟังเพลงแล้ว ยังมีองค์ประกอบของเครื่องเสียงชนิดต่างๆ เครื่องฉายภาพยนตร์หรือจอภาพขนาดใหญ่ที่สามารถสร้างความบันเทิงให้แก่ครอบครัวในระหว่างการใช้งาน ซึ่งการออกแบบทางกายภาพของห้องนั้นจำเป็นต้องอาศัยหลักการด้านแสงและเสียงเป็นพิเศษเพื่อให้ได้ประสบการณ์การรับรู้ที่สมบูรณ์แบบ
ทั้งนี้ก็สไตล์การออกแบบตกแต่งห้องสันทนาการนั้นก็ขึ้นอยู่กับความชอบส่วนตัวของเจ้าบ้าน หากคุณเจ้าบ้านต้องการให้บรรยากาศของการใช้งานนั้นแลดูสบายๆไม่ต้องการความเป็นส่วนตัวมากนักก็อาจออกแบบให้สามารถเปิดเชื่อมต่อกับพื้นที่พักผ่อนส่วนอื่นๆของบ้าน เช่นห้องนั่งเล่นหรือชานนั่งเล่นนอกบ้าน อย่างไรก็ตามการออกแบบให้พื้นที่ห้องมีเดียรูมเป็นห้องแบบปิดที่เป็นส่วนตัวนั้นก็ถือเป็นแนวทางการออกแบบที่ดีที่สุดเพื่อให้การใช้งานรับชมภาพยนตร์หรือฟังเพลงนั้นเป็นไปอย่างสมบูรณ์แบบที่สุด

ปัจจัยสำคัญของการออกแบบห้องสันทนาการที่ดีเราต้องคิดถึงอะไรบ้าง?

สิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึงคือการเลือกสรรและจัดวางระบบของเครื่องเสียง ลำโพง เครื่องเล่นดีวีดี เครื่องฉายภาพยนตร์หรือจอภาพที่มีประสิทธิภาพความชัดเจนของโทนสีรวมถึงชั้นวางและชุดเชลฟ์ที่เข้ากับสไตล์ของห้อง ซึ่งสามารถปรึกษานักออกแบบตกแต่งภายในหรือบริษัทเจ้าของผลิตภัณฑ์โฮมเธียเตอร์ ทั้งนี้ยังต้องออกแบบบรรยากาศของห้องให้มีความเงียบสงบและสามารถตัดเสียงหรือแสงและสิ่งรบกวนอรรถรสในการใช้งานจากภายนอก ในยามที่มีการใช้งานการจัดแสงภายในควรใช้ไฟส่องสว่างแบบที่สามารถปรับความสว่างได้ ในส่วนของผนังก็ต้องการการออกแบบติดตั้งผนังดูดซับเสียงสะท้อนแบบที่ใช้ในห้องอัดเสียง เพื่อให้เสียงที่ออกมาจากลำโพงนั้นชัดเจนมากที่สุด
การจัดวางเฟอร์นิเจอร์ที่นั่งสำหรับใช้งานก็มีความสำคัญซึ่งควรเลือกแบบโซฟา และต้องจัดวางให้ถูกตำแหน่งเพื่อให้สามารถรับชมจอภาพได้แบบชัดเจน การออกแบบจึงมักจัดวางในกึ่งกลางของห้องทั้งจอภาพและเฟอร์นิเจอร์ที่นั่ง หรืออาจมีโต๊ะสำหรับวางน้ำและอาหารว่างไว้ร่วมด้วย ในกรณีที่คุณมีพื้นที่กว้างขวางพอ ก็อาจมีการออกแบบให้มีตู้หรือชั้นวางเครื่องดื่มไว้ที่บริเวณท้ายห้องเพื่อให้สะดวกต่อการจัดเก็บและใช้งานโดยไม่ต้องเดินเข้าออกห้องอยู่บ่อยครั้ง

วัสดุพื้นและผนังที่ควรเลือกใช้กับห้องสันทนาการ

ผนังที่นักออกแบบตกแต่งภายในจะแนะนำคุณในการเลือกใช้กับห้องสันทนาการควรมีความเรียบง่ายและมีโทนสีเข้มออกไปทางมืด เช่นสีเทาหรือดำ ซึ่งช่วยดูดซับแสงและทำให้บรรยากาศการรับชมภาพยนตร์เป็นไปอย่างสมบูรณ์แบบราวกับอยู่ในโรงหนัง และยังต้องมีการเลือกใช้วัสดุสำหรับช่วยในการดูดซับเสียงสะท้อนเป็นพิเศษ เพื่อไม่ให้มีสิ่งรบกวนความบันเทิงระหว่างการใช้งาน และในส่วนของวัสดุพื้นนั้นการออกแบบห้องอาจทำได้ทั้งออกแบบให้มีระดับพื้นที่แตกต่างกันโดยลาดสูงในส่วนของที่นั่งเฟอร์นิเจอร์ วัสดุปูพื้นผิวไม้เป็นทางเลือกที่ดีของการใช้งานเพราะมีความทนทานและทำให้บรรยกาศไม่แลดูอับทึบจนเกินไปด้วย อย่างไรก็ดีการใช้พรมปูพื้นทั่วทั้งห้องหรือการใช้วัสดุที่ดูดซับเสียงที่คุณสามารถปรึกษาช่างปูพื้น ก็ถือเป็นอีกวิธีที่จะช่วยดูดซับเสียงและทำให้ระบบเสียงของห้องสันทนาการเป็นไปอย่างสมบูรณ์แบบมากขึ้น

สไตล์การออกแบบสามารถใช้รูปแบบใดได้บ้าง

สำหรับรูปแบบไอเดียของการออกแบบตกแต่งเพื่อความสวยงามนั้น คุณเจ้าบ้านสามารถปรึกษาสถาปนิกและนักออกแบบตกแต่งภายในได้อย่างเต็มที่ นอกจากนี้แล้วไอเดียต่างๆใน Homify ของเราเองก็มีมากมายหลากหลายให้คุณได้เลือกใช้เป็นแบบตัวอย่างของห้องสันทนาการที่ตรงใจคุณ เรามาลองดูรูปแบบสไตล์การตกแต่งที่เป็นที่นิยมกันว่ามีรูปแบบไหนบ้าง

ห้องสันทนาการสไตล์โมเดิร์น

หากคุณชื่นชอบการออกแบบตกแต่งสไตล์โมเดิร์นที่ดูโฉบเฉี่ยวทันสมัย การออกแบบห้องควรเน้นความเงียบสงบและเป็นส่วนตัว ทั้งยังควรมีการออกแบบให้ลดเสียงรบกวนและแสงธรรมชาติจากภายนอก สำหรับเฟอร์นิเจอร์ก็จะเน้นการใช้โทนสีที่เรียบง่ายเป็นทางการอย่างสีเทา สีดำ และใช้เป็นวัสดุไฟเบอร์หรืออะคริลิคที่ให้สัมผัสมันวาวแลดูทันสมัย และอาจใช้หมอนหรือเบาะนวมสีม่วงหรือเขียวเข้มเพื่อสร้างจุดสนใจและคลายความมืดหม่น ก็จะช่วยให้บรรยากาศแลดูโมเดิร์นขึ้น

ห้องสันทนาการสไตล์คันทรี่

ขึ้นชื่อว่าสไตล์คันทรี่แล้ว แนวทางการตกแต่งและเลือกใช้วัสดุคงหนีไม่พ้นการใช้วัสดุไม้สีธรรมชาติ ซึ่งควรเลือกใช้เป็นไม้ที่มีสีโทนน้ำตาลเข้ม ผนังโทนสีอ่อนที่ไม่เข้มหม่นมากก็สามารถเลือกใช้ได้โดยไม่ขัดกับบรรยากาศของห้องมากนัก ส่วนของเฟอร์นิเจอร์ก็จะเน้นเป็นโซฟาเบาะนวมสีมัสตาร์ดซึ่งให้บรรยากาศที่ดูอบอุ่นเป็นกันเอง และการเลือกใช้พรมก็ดูจะเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้เช่นกัน โดยเฉพาะพรมลวดลายแบบดั้งเดิมซึ่งทำให้บรรยากาศของห้องนั้นแลดูย้อนสมัยและมีความเป็นบ้านคันทรี่สุดๆ

ห้องสันทนาการสไตล์คลาสสิค

รูปแบบการตกแต่งสไตล์คลาสสิคถือว่าเหมาะเหม็งในการสร้างบรรยากาศการรับชมภาพยนตร์อย่างมีอรรถรส ด้วยการเลือกใช้โทนสีของผนังเป็นไม้สีธรรมชาติหรือวัสดุสีทอง และออกแบบรูปทรงของฝ้าเพดานโดยใช้เส้นสายรูปทรงโค้งหรือเรขาคณิตที่เหลื่อมซ้อนหรือย่อส่วนกัน ตกแต่งไฟส่องสว่างด้วยโคมไฟย้อนสมัยกลางห้อง ผนวกกับเฟอร์นิเจอร์ที่นั่งสีเข้ม ก็ให้บรรยากาศที่ดูคล้ายคลึงกับโรงภาพยนตร์สมัยยุคปี 20s ซึ่งมีความหรูหราและโอ่อ่า ก็นับเป็นอีกแนวทางการออกแบบที่ทำให้ห้องสันทนาการของบ้านมีเอกลักษณ์และบรรยากาศการใช้งานที่แปลกใหม่ไปจากห้องอื่นๆของบ้านคุณ

ความคิดเห็น

  1. ห้องสันทนาการ หรือห้องมัลติมีเดียคือชื่อเรียกอย่างเป็นทางการของห้องนั่งเล่นดูหนังฟังเพลงแบบส่วนตัว

    ตอบลบ

แสดงความคิดเห็น